การฝังเข็มคืออะไร?

Uncategorized

Written by

Dr. Kate Boonyakiat

Published on

January 1, 1970

การฝังเข็มทำงานยังไง?

กระบวนการการฝังเข็มคือกระบวนการการแทงเข็มเข้าไปในร่างกายของผู้ป่วยเพื่อทำให้พลังงานในร่างกายอยู่ ในระดับที่สมดุล มีการกล่าวอ้างว่าการฝังเข็มนั้นสามารถช่วยกระตุ้นให้ร่างกายดีขึ้นและยังช่วยรักษาโรคได้อีกด้วย นอกจากนี้การฝังเข็มมักจะใช้ในการรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น ปวดหัว ความดันโลหิต อาการไอกรน และอื่นๆ อีกมากมาย

โดยการแพทย์แผนจีนได้มีการอธิบายไว้ว่าร่างกายเกิดจากการผสมผสานของความสมดุลอย่างสมบูรณ์แบบร่วมกันที่เรียกว่า “หยิน และ หยาง” นอกจากนี้ยังมีการอธิบายถึงความเจ็บปวดไว้ด้วยว่าเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความไม่สมดุลของพลังในร่างกายนั่นเอง

“หยิน” จะเคลื่อนไหวในแนวเส้นลมปราณในร่างกายของมนุษย์โดยที่แนวเส้นลมปราณและการถ่ายเทพลังงานจะสามารถเข้าถึงได้เมื่อมีการฝังเข็มในร่างกายโดยใช้จุดที่อยู่ในเส้นลมปราณ 350 จุด การฝังเข็มลงไปตามจุดเหล่านี้จะช่วยทำให้พลังงานสามารถถ่ายเทกลับไปยังจุดสมดุลที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถบ่งชี้เกี่ยวกับเรื่องนี้แต่กลับมีงานวิจัยบางส่วนที่ระบุว่าการฝังเข็มสามารถช่วยได้ในบางกรณี

❤️ ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนเคยนำเรื่องประสาทวิทยาศาสตร์มาช่วยในการอธิบายเกี่ยวกับการฝังเข็มโดยที่ตำแหน่งใน การฝังเข็มจะเป็นบริเวณที่เส้นประสาท กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันสามมารถถูกกระตุ้นโดยการกระตุ้นเหล่านี้จะช่วยในการไหลเวียนเลือดในขณะเดียวกันก็จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของร่างกายได้อย่างเป็นธรรมชาติ ในการควบคุมการฝั่งเข็มนั้นค่อนข้างยากหากต้องการควบคุมตามหลักวิทยาศาสตร์เนื่องจากการฝังเข็มเป็นที่นิยม       แพร่หลาย ในงานวิจัยเกี่ยวกับวิธีการรักษาระบุว่ามีการทดลองการควบคุมนี้โดยใช้ Sham treatment หรือ กลุ่มยาหลอก เพื่อป้องกันการเอนเอียงจากความคาดหมายของผู้สังเกตการเมื่อเปรียบเทียบกับการฝังเข็ม บางงานวิจัยมีการสรุปออกมาว่าการฝังเข็มเปรียบเหมือนการทดลองแบบยาหลอก(placebo) เพราะไม่มั่นใจว่ากระบวนการนี้สามารถรักษาอาการป่วยได้แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่เชื่อว่าการฝังเข็มนั้นสามารถช่วยในการรักษาได้จริง

ประโยชน์ของการฝังเข็ม

-ปลอดภัยหากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

-มีผลข้างเคียงน้อย

-มีประสิทธิภาพเมื่อใช้ร่วมกับการรักษาอื่น

-ช่วยควบคุมความเจ็บปวด

-ช่วยผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาแก้ปวดได้

กระบวนการการรักษา

แพทย์ฝังเข็มจะทำการวินิจฉัยผู้ป่วยและประเมินอาการก่อนจะทำการรักษาและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเองหรือ วิธีการรักษาอื่นๆร่วมด้วย เช่น สมุนไพรจีน

ในการรักษานั้นผู้ป่วยจะต้องนอนเงยหน้า คว่ำหน้าและตะแคงข้างโดยจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะฝังเข็ม แพทย์ฝังเข็มจะใช้เข็มแบบใช้แล้วทิ้งและทำการฆ่าเชื้อก่อนใช้งาน เมื่อเข็มถูกฝังผู้ป่วยจะรู้สึกหน่วงหรืออาจไม่รู้สึกเจ็บ การฝังเข็มส่วนมากโดยปกติแล้วจะไม่เจ็บมากนัก บางครั้งจะมีการใช้ความร้อนหรือใช้ไฟฟ้ากระตุ้นร่วมด้วยหลังจากที่ฝังเข็มลงไป ซึ่งเข็มจะคาอยู่ในแต่ละตำแหน่งปรามาณ 5-10 นาที

ในด้านของจำนวนการรักษาจำนวนจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน หากผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังอาจต้องรักษา 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์และใช้เวลาหลายเดือน ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะใช้เวลารักษาประมาณ 8-12 เดือน

Related Articles

http://103.88.229.80/newpisang/ https://keppkn.kemkes.go.id/assets/ https://jurnalfasya.iainkediri.ac.id/news/ https://hsji.kemkes.go.id/hsji/ https://stelina.kkp.go.id/