สมุนไพรจีน

Acupuncture & Chinese Medicine for Vertigo

👉🏻 Feeling dizzy is the most common reason people go in for a doctor’s visit or even the emergency room. Dizziness is a reasonably general term that can mean anything from feeling light-headed, dizzy, faint, off-balance, or unsteady to feeling nauseated or like you’re about to pass out. Vertigo is a specific type of dizziness …

Acupuncture & Chinese Medicine for Vertigo Read More »

cold, headaches, health-3861935.jpg

การรักษาโรคโพรงจมูกอักเสบด้วยการฝังเข็มและสมุนไพรจีน

ปัญหาด้านโพรงจมูกถือว่าเป็นอาการที่พบได้บ่อยมากที่สุดก็ว่าได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการปวด  มีแรงดันและรู้สึกไม่สบายในในโพรงจมูกเรื้อรัง โพรงจมูกถือเป็นโครงสร้างรูโพรงของกะโหลกศีรษะ ซึ่งเต็มไปด้วยเนื้อเยื่ออ่อนมากมาย โดยโพรงจมูกที่ดีอากาศจะสามารถถ่ายเทเข้าออกได้สะดวก อย่างไรก็ตามเมื่อโพรงจมูกติดเชื้อไม่ว่าจะเพราะตัวกระตุ้น เช่น ไวรัสหรือแบคทีเรีย เนื้อเยื่ออ่อนเหล่านั้นจะเริ่มผลิตของเหลวชนิดเมือกสีเหลืองหรือสีเขียวออกมาโดยอาการนี้เรียกว่า ภาวะโพรงจมูกอักเสบซึ่งมักจะก่อให้เกิดภาวะเรื้อรัง ปัจจัยการเกิดโรคในในมุมมองของแพทย์แผนจีน เกิดจากอารมณ์ในด้านลบ ความเครียด การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับได้ ซึ่งการทำงานของตับที่ผิดปกติจะส่งผลกระทบทำให้ระบบม้ามอ่อนแอลง             📍 วิธีการรักษาอาการโพรงจมูกอักเสบที่มีประสิทธิภาพสูงจะต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของการฝังเข็มและสมุนไพรจีน โดยหลังจากที่ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่สะดวกได้รับการฝังเข็มเข้าไปตรงจุดฝังเข็มเฉพาะจะทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและรู้สึกสบายขึ้นทันที  📍 การรักษาโพรงจมูกอักเสบด้วยสมุนไพรนั้นจะประกอบไปด้วย ชางเออจือ (Xanthium powder) ,ซินอี๊ฮวา(Magnolia flower) และ ตังกุย (Angelic root) ซึ่งเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน และหากโพรงจมูกอักเสบมีไข้ จะมีการใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็นร่วมด้วย ได้แก่ จินหยินฮวา(Honeysuckle flower) และฮวงฉิน (Scutellaria root)             ❤️ โดยปกติแล้วโครงสร้างร่างกายของผู้ป่วยมักจะแตกต่างกันจึงมีความจำเป็นที่แพทย์จะต้องทำความเข้าใจต้นเหตุของอาการโพรงจมูกอักเสบเหล่านี้ ดังนั้นการรักษาจึงจะต้องควบคู่ไปกับการรักษาที่อาการและต้นเหตุด้วย การวินิจฉัยและการรักษาขั้นต้นนั้นจะสามารถลดโอกาสและป้องกันการนำไปสู่ภาวะเรื้อรังได้ แปลและเรียบเรียงโดย แพทย์จีน กิ่งหยก พิลาสมบัติ (Kingyok Pilasombat, CMD)

การรักษาวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนด้วยแพทย์แผนจีน

คุณกำลังมีอาการเหล่านี้อยู่ไหม? ‘ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน ปวดศีรษะ ปวดตามข้อ นอนหลับยาก อารมณ์แปรปรวน’  และอยู่ในช่วงวัย40ปี ถ้าหากคุณมีอาการเหล่านี้ อาจจะกำลังก้าวเข้าสู่วัยทอง อาการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปัญหาหลักๆที่พบมากในทางคลินิก วัยทองไม่ใช่โรค หากแต่เป็นช่วงหนึ่งของผู้หญิงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ และสิ้นสุดการมีประจำเดือนอย่างถาวร โดยมักเกิดขึ้นในช่วงอายุ 48-55 ปี วัยหมดประจำเดือนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อาการของแต่ละคนจะแตกต่างกัน ผู้หญิงบางคนสามารถผ่านวัยหมดประจำเดือนไปได้โดยไม่ต้องประสบกับภาวะอันไม่พึงประสงค์ แต่สำหรับอีกหลายคนอาการเหล่านั้นเป็นปัญหาที่ยากจะรับมือ วัยหมดประจำเดือนเกิดจากการที่รังไข่สร้างฮอร์โมนเอสโทรเจนน้อยลง ส่งผลให้การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ ก่อให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่ออกกลางคืน ภาวะทางอารมณ์ นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ใจสั่น คันใต้ผิวหนังคล้ายแมลงไต่ ปวดกล้ามเนื้อและมีอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะ ในมุมมองของแพทย์แผนจีน วัยหมดประจำเดือนเกิดจาก ‘ไตพร่อง’ เนื่องจากแพทย์แผนจีนไม่ได้มองว่าไตเป็นเพียงหนึ่งอวัยวะ แต่เป็นหนึ่งระบบที่ควบคุมอุณหภูมิ ระบบสืบพันธุ์ และสมดุลของสารน้ำในร่างกายองค์ประกอบที่สำคัญในแพทย์แผนจีน คือ สมดุลอินและหยาง(Yin and Yang) นอกจากนั้นยังมี ชี่(Qi)และเลือด(Blood) หมุนเวียนอยู่ในร่างกาย หากการทำงานทั้งหมดดี การทำงานของระบบต่างๆในร่างกายก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งในช่วงวัยหมดประจำเดือนการทำงานของชี่ในไต สารสำคัญในร่างกาย และเลือดจะค่อยๆลดลง เป็นผลให้การทำงานของระบบอวัยวะต่างๆในร่างกายถูกรบกวนไปด้วย แพทย์แผนจีนรักษาอาการต่างๆจากภาวะหมดประจำเดือนด้วยการมองแบบองค์รวมและใช้วิธีการรักษาที่หลากหลาย เช่น …

การรักษาวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนด้วยแพทย์แผนจีน Read More »

การรักษาโรคนอนไม่หลับในผู้สูงอายุด้วยแพทย์แผนจีน

❤️ โรคนอนไม่หลับเป็นอีกหนึ่งโรคที่พบมากในทางคลินิก ซึ่งปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับหรือนอนหลับยากสามารถพบได้ทั่วไปในผู้สูงอายุ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการหลับยาก หลับไม่สนิท ตื่นบ่อยและตื่นแต่เช้า โดยในวัยสูงอายุโรคนอนไม่หลับมักมีความเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขอื่นๆด้วย เช่น การบริโภคกาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคอื่นๆที่เป็นอยู่ขณะนั้น อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า รวมไปถึงการใช้ยาบางตัวก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งสำหรับโรคนอนไม่หลับ เช่น ยากลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ ยากลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์(ยาต้านการอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์) ยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ ยาลดอาการคัดจมูก และยาต้านแอนโดรเจน             📍แพทย์แผนจีนมองว่าความไม่สมดุลของอวัยวะภายในทำให้เกิดภาวะพร่อง ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคนอนไม่หลับได้ โดยสาเหตุที่พบมากที่สุดคืออินตับพร่อง ตับมีกระบวนการสร้างฮอร์โมนเมลาโทนินและคอร์ติซอล ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้มีความสัมพันธ์กับวงจรการนอนหลับ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของตับบกพร่องจะกำจัดเมลาโทนินได้ช้าลง และมีระดับฮอร์โมนเมลาโทนินสูงตลอดระยะเวลากลางวัน ซึ่งส่งผลให้กระบวนการหลั่งเมลาโทนินผิดปกติ ทำให้ช่วงเวลาที่มีระดับเมลาโทนินสูงที่สุดถูกยืดออกไป เพราะฉะนั้นเวลาที่จะเริ่มง่วงนอนก็จะช้าออกไปด้วย อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นอนหลับดีคือการมีคอร์ติซอลในระดับต่ำ โดยคอร์ติซอลจะเริ่มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหลังตื่นนอนในตอนเช้าและดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งระหว่างวันคอร์ติซอลในเลือดควรถูกกำจัดออกโดยตับและอยู่ในปริมาณต่ำช่วงกลางคืน ดังนั้นการมีระดับคอร์ติซอลสูงเวลากลางคืนจึงทำให้นอนหลับยาก             ⚡️จากการศึกษาพบว่าการฝังเข็มช่วยกระตุ้นการผลิตและหลั่งฮอร์โมนให้อยู่ในระดับปกติซึ่งมีผลดีต่อการนอนหลับ และในส่วนของสมุนไพรจีนก็มีประวัติการรักษามาอย่างยาวนานและเป็นที่ยอมรับในการบรรเทาอาการนอนไม่หลับอีกด้วย จะเห็นได้ว่าวิธีการรักษาถูกบันทึกไว้ทั้งในงานเขียนโบราณตลอดจนงานวิจัยสมัยใหม่       …

การรักษาโรคนอนไม่หลับในผู้สูงอายุด้วยแพทย์แผนจีน Read More »

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาสมุนไพรจีน

ในช่วงที่ร่างกายมีสภาวะไม่ปกติ การเลือกใช้ยาสมุนไพร จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะระหว่างตั้งครรภ์ และระหว่างการเจ็บป่วยเพราะร่างกายได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากสภาวะปกติ ข้อควรปฏิบัติระหว่างการใช้ยาสมุนไพรจีน 👉🏻 โรคปอด ในระหว่างที่รักษาด้วยยา ห้ามสูบบุหรี่และดื่มสุรา 👉🏻 หอบหืดหรือไอ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ด มันจัด และหวานจัด 👉🏻 โรคผิวหนังหรือแผลพุพองเป็นหนอง ห้ามดื่มสุรา ห้ามรับประทานอาหารที่ทำด้วย นม ไข่เป็ด หน่อไม้ เห็ดหอม ถั่วลิสง มะม่วง อาหารทะเล รวมถึงอาหารที่ทำให้ เกิดอาการร้อนใน เช่น ของทอด ของเผ็ด เป็นต้น 👉🏻 สิว ในระหว่างที่รับประทานยาสมุนไพร ห้ามรับประทาน ขาหมู หูหมู หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ด มันจัด และหวานจัดและอาหารจำพวกของทอด 👉🏻 โรคหัวใจ ห้ามรับประทานอาหารมันจัด และอาหารประเภทไขมันสัตว์ 👉🏻 โรคตับ ห้ามรับประทานขึ้นฉ่าย เครื่องสัตว์ อาหารที่มันจัด และห้ามดื่มสุรา 👉🏻 โรคไต ห้ามรับประทานขึ้นฉ่าย เครื่องสัตว์ …

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาสมุนไพรจีน Read More »