ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร Temporomandibular หรือ TMJ ได้กลายเป็นอาการที่พบได้บ่อยมากขึ้นในคลินิกฝังเข็ม การทำงานเป็นหมอฝังเข็ม สำหรับฉันเห็นว่า TMJ มักจะมีองค์ประกอบของความเครียดทางจิตใจและอารมณ์ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยรายงานระดับความเจ็บปวดที่มากขึ้นและการกัดฟันที่มากขึ้นเมื่อระดับความเครียดเพิ่มขึ้น
ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร หรือ TMJ เกิดจากอะไร?
TMJ อาจเกิดจากความตึงของกล้ามเนื้อ (การกัดฟันหรือการนอนกัดฟัน) ปัญหาทางกายวิภาคและการบาดเจ็บ บางครั้ง อาจมีองค์ประกอบทางจิตวิทยาจากการที่ใครบางคนขบกรามแน่นในระหว่างที่อารมณ์ตึงเครียด มีความมุ่งมั่นที่รุนแรง หรือความสิ้นหวัง คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่ากล้ามเนื้อเหล่านี้สามารถหดตัวเป็นเวลานาน เมื่อเวลาผ่านไปและทำซ้ำๆ สามารถเกิดอาการต่างๆ ได้แก่ ปวดศีรษะรุนแรง ปวดคอบ่าไหล่ ปวดหูหรือวิงเวียนศีรษะจนถึงปวดขณะเคี้ยวหรืออ้าปาก ร่วมด้วยได้
การรักษาความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร หรือ TMJ ด้วยการฝังเข็ม
ในฐานะที่เป็นการรักษาแบบองค์รวม แพทย์แผนจีน รักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดกรามและเข้าถึงต้นตอของปัญหาของโรค ในทฤษฎีแพทย์แผนจีนนั้น TMJ มักเกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการ “อุดกั้น” ประเภทต่างๆ ความเครียดและความบอบช้ำทางร่างกายและอารมณ์อาจทำให้ชี่หยุดนิ่งหรือเลือดคั่ง ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค เช่น ความเย็น ความร้อน ลม และความชื้น อาจทำให้เกิดการอุดตันหรือการอุดกั้นของพลังงานและเลือดในร่างกายบางส่วน ผู้ที่เป็นโรค TMJ ไม่จำเป็นต้องมีอาการปวดฟันหรือปวดกล้ามเนื้อ ขากรรไกรค้าง หรือเคลื่อนไหวได้จำกัดเท่านั้น พวกเขาอาจมีอาการอื่น ๆ ที่กล่าวไว้ตอนต้นร่วมด้วยแค่นั้นก็ได้
การฝังเข็มต่อครั้งสามารถรักษา – ความเครียด ความตึงของกล้ามเนื้อ ความไม่สมดุลของระบบร่างกาย และความเจ็บปวดบริเวณกรามได้ เพราะฉะนั้นการรักษา TMJ แบบองค์รวม ผู้ป่วยจะได้รับทั้งประโยชน์ ความสะดวกและประสิทธิภาพในการรักษา
❤️ การรักษาผู้ป่วย TMJ ต้องมองภาพรวมทั้งหมด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมที่สามารถส่งเสริมการรักษาต่อไป การทำความเข้าใจแหล่งที่มาของปัญหาเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการเกิดซ้ำ แนวทางสนับสนุนที่เสริมการรักษาด้วยการฝังเข็ม ได้แก่ ปรับการทานอาหารให้เหมาะสมและการสวมที่ครอบปากตอนกลางคืนหรือแผ่นกันกัดฟันเพื่อช่วยปรับขากรรไกรให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง การลดความเครียด หาวิธีการผ่อนคลาย และการฝึกยืดกล้ามเนื้อบริเวณกรามยังช่วยลดและคลายความตึงในกล้ามเนื้อรอบข้อต่อขากรรไกรได้อีกด้วย
แปลและเรียบเรียงโดย แพทย์จีน กิ่งหยก พิลาสมบัติ (Kingyok Pilasombat, CMD)