ประโยชน์ของการฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า โรคข้อเข่าอักเสบ

Acupuncture, บทความ, ฝังเข็ม

Written by

Dr. Kate Boonyakiat

Published on

March 29, 2023

เมื่อคุณมีอาการปวดเข่าทำให้ไม่สามารถเดินได้อย่างสะดวก อาจทำให้การขึ้นหรือลงบันไดนั้น

กลายเป็นเรื่องยากและอาจมีอาการปวดคอยกวนใจในเวลาที่คุณพักผ่อนในตอนกลางคืน โรคข้ออักเสบ (OA) ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการปวดเข่าเรื้อรัง เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการปวด อักเสบ ข้อฝืดหรือติดขัด ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวของเข่ามีข้อจำกัด

อะไรคือสาเหตุของโรคข้อเข่าอักเสบ?

อายุถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเข่าอักเสบ ซึ่งวัยหนุ่มสาวเองก็สามารถเผชิญกับโรคนี้ได้เช่นกัน การใช้งานข้อเข่าซ้ำๆและอาการบาดเจ็บต่อเนื่อง สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคข้อเข่าอักเสบได้ ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เซลล์กระดูกอ่อนที่เรียกว่า “Chondrocytes”แตกได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการอักเสบ บริเวณข้อต่อ เช่น สะโพกและเข่าที่มักจะได้รับผลกระทบจากโรคนี้บ่อยครั้ง ปกติข้อต่อเหล่านี้จะได้รับการหล่อลื่นโดยธรรมชาติที่มีชื่อว่าน้ำไขข้อหรือ “Synovial fluid”  หากเกิดความเสียหายต่อกระดูกอ่อนเหล่านี้จะส่งผลให้เซลล์กระดูกอ่อนเกิดรอยร้าวและดูดซับน้ำเหล่านี้  ซึ่งจะไปลดน้ำหล่อลื่นในข้อต่อ เมื่อเกิดภาวะนี้จะทำให้เกิดการเสียดสีที่มากขึ้นระหว่างกระดูกและข้อต่อโดยจะไปเร่งให้เกิดการผุกร่อนของข้อต่อ เกิดการอักเสบมากขึ้นและทำให้กระดูกเสื่อมสภาพลง  โดยปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้ข้อต่อของผู้ป่วยเสื่อมสภาพลงได้ไวขึ้นแม้อายุจะยังน้อยก็ตาม

การฝังเข็มช่วยได้อย่างไร?

อ้างอิงจากทฤษฎีแพทย์แผนจีนโรคข้ออักเสบนั้นถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอาการโรคปวดข้อ นอกจากนี้ภาวะพร่องของตับและไต การขาดพลังงานต่างๆและสารอาหารเองก็สามารถก่อให้เกิดความเย็น ลม และความชื้นค้างอยู่ในข้อเข่าที่เสื่อมสภาพได้  ยิ่งไปกว่านั้นหากมีสิ่งอุดกั้นตามแนวเส้นลมปราณจะทำให้การลำเลียงพลังงานและสารอาหารเหล่านี้ติดขัดส่งผลให้ข้อต่อขาดการหล่อเลี้ยงและเกิดอาการปวดได้          เมื่อเกิดความพร่องและการการลำเลียงพลังงานและสารอาหารหยุดชะงัก ดังนั้นหลักการรักษาสำหรับโรคข้อเข่าอักเสบคือการไปกระตุ้นการไหลเวียนให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดความเจ็บปวดลง โดยการเลือกใช้จุดฝังเข็มที่อยู่บริเวณเข่าและใช้จุดไกลที่อยู่บนเส้นลมปราณที่ผ่านบริเวณเข่า

❤️ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยมากมายที่ช่วยสนับสนุนในเรื่องของการรักษาโดยการฝังเข็มเพื่อบรรเทาอาการของโรคข้อเข่าอักเสบโดยเฉพาะในปี 2016 Yan Zhang et al. ได้มีการเผยแพร่บทความวิทยาศาสตร์ใน  The American Journal of Translational Research ซึ่งมีการสาธิตวิธีการรักษาโดยการฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้าว่าสามารถสร้างเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่าขึ้นมาใหม่ในผู้ป่วยข้อเข่าอักเสบ โดยในงานวิจัยมีการใช้ผลก่อนและหลังการทำ MRI มาประเมินโรคข้อเข่าอักเสบหลังการรักษาฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า มีการระบุว่าหลังจากนั้น 4 สัปดาห์กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้านั้นมีความเจ็บปวดลดลง  นอกจากนี้การประเมินความผิดปกติโดย MRI ยังสามารถแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในด้านของการเกิดใหม่และการซ่อมแซมกระดูกอ่อน ถึงแม้ว่าภาวะข้อต่อบาดเจ็บจะทำให้ข้อต่อเสื่องสภาพได้เร็วขึ้น แต่ยังมีวิธีการรักษาอีกมากมายที่สามรถช่วยหยุดโรคข้ออักเสบนี้ได้

            เมื่อทำการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ให้ตระหนักว่าการอักเสบนั้นคือศัตรูตัวร้าย การที่จะช่วยรักษาให้มีประสิทธิภาพ ต้องร่วมกับ การรับประทานอาหารที่ดี หรือ อาหารเสริม เพื่อช่วยในการบำรุง การทำหัตถการเช่น นวด ครอบแก้ว หรือการยืด จะช่วยเพิ่มอัตราการฟื้นตัวและกลับไปสู่ภาวะปกติได้

การฝังเข็มเป็นทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับอาการปวดเข่าและโรคข้อเข่าเสื่อม โดย  ช่วยลดความเจ็บปวด การอักเสบ ข้อเข่าฝืดหรือติดขัด เพิ่มการเคลื่อนไหวบริเวณหัวเข่าและนั่นสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตโดยรวมของคุณได้

แปลและเรียบเรียงโดย แพทย์จีน กิ่งหยก พิลาสมบัติ (Kingyok Pilasombat, CMD)

Related Articles

Dr. Kate Boonyakiat
|
January 11, 2025

Traditional Chinese Medicine Treatment for Sweaty Palms and Feet

TCM, ฝังเข็ม, สมุนไพรจีน

👉🏻 Patients regularly ask me if there's a way to treat their sweaty hands because…

Dr. Kate Boonyakiat
|
November 6, 2024

Frozen Shoulder Case Study: Traditional Chinese Medicine

Acupuncture, TCM

📌 A frozen shoulder (adhesive capsulitis) occurs when the shoulder capsule becomes too thick and…

Dr. Kate Boonyakiat
|
September 22, 2024

A Case Study of Sports Medicine Acupuncture for Knee Pain

Acupuncture, ฝังเข็ม

A very common condition we see in our acupuncture clinic is knee pain. Whether you…

http://103.88.229.80/newpisang/ https://keppkn.kemkes.go.id/assets/ https://jurnalfasya.iainkediri.ac.id/news/ https://hsji.kemkes.go.id/hsji/ https://stelina.kkp.go.id/